“บ้านโบราณของเกาหลีเรียกว่า ฮันนก”
บ้านพื้นเมืองโบราณของเกาหลีเรียกว่าฮันนก บ้านฮันนกถือเป็นวัฒนธรรมที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ในการแก้ปัญหา ความร้อนและความหนาวเย็นภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเกาหลีตลอดทั้งสี่ฤดูที่แตกต่างกัน ในฤดูหนาวจะติดตั้งคูดึล (ระบบทำความร้อนแบบโบราณของเกาหลี) ไว้ใต้พื้นกระดานของห้อง แล้วจุดไฟเพื่อให้ไอความร้อนทำให้ทั่วทั้งห้องอบอุ่นขึ้น ส่วนในฤดูร้อนจะมีแทช่องมารู (ห้องโถงหรือระเบียงปูพื้นด้วยไม้) เพื่อให้ลมโกรกผ่านได้เป็นอย่างดีทั่วทั้งสี่ทิศ
ลักษณะโครงสร้างของบ้านฮันนกที่โดดเด่นคือการแบ่งแยกพื้นที่ใช้สอย ในชีวิตประจำวันของผู้ชายและผู้หญิงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในสังคมของคนชั้นสูง หากเดินผ่านประตู โซซึลแดมุน (ประตูรั้วหน้าบ้าน) เข้ามาในบริเวณบ้านจะพบห้องซารางแช่ (ห้องรับรองแขก) ซึ่งเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้วิชาการต่างๆ ของผู้ชายในบ้านและเป็นพื้นที่ในการรับรองแขก ซึ่งห้องซารางแช่จะถูกสร้าง ให้สูงกว่าห้องอื่นๆ ภายในบ้านโดยเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงอำนาจของ ครอบครัวและเจ้าของห้อง หากเดินพ้นกำแพงของห้องซารางแช่เข้าไปด้านในบ้านจะพบพื้นที่ใช้สอย ในชีวิตประจำวันของผู้หญิงเรียกว่า ห้องอันแช่ (บ้านหลังใน) ซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปยังห้องนี้ได้
กล่องจัดแสดงของกล่องวัฒนธรรมเกาหลีในครั้งนี้ที่ตกแต่งเป็นห้องซารางบัง (ห้องรับรองแขก) และห้องอันบัง (ห้องนอนเจ้าของบ้าน) ได้จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้และพื้นที่ใช้สอยในชีวิตประจำวันของผู้ชายและผู้ หญิงในบ้านฮันนก (บ้านพื้นเมืองโบราณ) เพื่อแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ชายและผู้หญิงในสังคมเกาหลีแบบดั้งเดิม